10 ข้อควรรู้เพื่อป้องกันเพลิงไหม้

1. หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า ให้อยู่ในสภาพปลอดภัย หากชำรุดให้รีบซ่อมแซม

2. เลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพและได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

3. ถอดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดหลังเลิกใช้งานแล้วทุกครั้ง

4. หมั่นตรวจสอบเตาและถังก๊าซหุงต้ม ให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ปิดวาล์วที่หัวถังทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

5. หน้าต่างที่ติดเหล็กดัด ต้องมีช่องทางออกฉุกเฉินที่เปิดได้อย่างน้อย 1 บาน ทุกห้อง

6. ควรติดตั้งถังดับเพลิงภายในบ้านในจุดที่เห็นเด่นชัด ปราศจากสิ่งกีดขวาง และคนในบ้านต้องใช้ถังดับเพลิงเป็นทุกคน

7. ควรติดตั้งเครื่องตัดไฟ เพื่อช่วยป้องกันไฟฟ้ารั่วและอัคคีภัย

8. วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงไวไฟทุกชนิด ต้องเก็บให้ห่างจากความร้อนและเปลวไฟ

9. เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษในกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ เช่น ดับธูปเทียนให้สนิท

ข้อควรปฏิบัติกรณีเพลิงไหม้อาคารสูง

1. ตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก

2. ตะโกนบอกหรือกดสัญญาณแจ้งเตือนให้ผู้อื่นอพยพออกจากอาคาร จากนั้นโทรศัพท์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงมาระงับเหตุและควบคุมเพลิง

3. ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตูก่อนออกจากห้อง หากมีความร้อนสูงแสดงว่าเกิดเพลิงไหม้บริเวณใกล้เคียง ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะควันไฟและเปลวเพลิงจะเข้ามาในห้อง อีกทั้งการถ่ายเทอากาศ จะทำให้เพลิงไหม้รุนแรงมากขึ้น แต่หากลูกบิดไม่ร้อน ให้เปิดประตูออกไปช้า ๆ และหมอบคลานต่ำไปตามเส้นทางอพยพหนีไฟที่ปลอดภัยในทันที

4. หลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจโดยตรง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปากหรือนำถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาคลุมศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย ทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

5. ให้อพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย โดยใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากบันไดหนีไฟมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย ห้ามหนีไปในทิศทางที่สวนกับควันไฟและความร้อน หากจำเป็นให้หมอบคลานต่ำ เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์ที่อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต หรือย่อตัวใกล้ระดับพื้นมากที่สุด เพราะไอความร้อนและควันไฟจากเพลิงไหม้จะลอยตัวขึ้นสู่ด้านบน

6. ห้ามใช้ลิฟต์ และบันไดภายในอาคารอพยพหนีไฟ เพราะมีลักษณะเป็นช่อง ทำให้ควันไฟ ความร้อนและเปลวเพลิงสามารถลอยเข้าไปได้ ส่งผลให้สำลักควันไฟเสียชีวิต อีกทั้งเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ลิฟต์หยุดทำงาน จึงติดค้างอยู่ในลิฟต์ ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้

7. ไม่ควรอพยพหนีไฟเข้าไปอยู่บริเวณที่เป็นจุดอับของอาคาร อาทิ ห้องน้ำ ห้องใต้ดิน รวมถึงไม่หนีไฟขึ้นไปบนดาดฟ้า เพราะไฟจะลุกลามจากด้านล่างขึ้นบน รวมถึงยากต่อการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ในบ้าน

1. เมื่อเกิดเพลิงไหม้ อย่าเปิดประตู-หน้าต่างออก เพราะออกซิเจนจะทำให้ไฟลุกไหม้มากขึ้น หากเส้นทางหนีไฟมีควันไฟปกคลุม ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกหรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์มาครอบศีรษะเพื่อป้องกันการสำลักควัน และให้มอบคลานต่ำไปตามเส้นทางอพยพที่ปลอดภัย

2. ไม่ควรเข้าไปหลบหนีไฟบริเวณที่ที่เป็นจุดอับ เช่น ห้องน้ำ เพราะเป็นที่ที่มีหน้าต่างน้อย อาจสำลักควันไฟหรือถูกไฟคลอกเสียชีวิต

การใช้ปลั๊กพ่วงอย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและเพลิงไหม้

1. ควรใช้ปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพ มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

2. ไม่ควรใช้ปลั๊กพ่วงแบบม้วนสายในตลับกลม ควรใช้แบบรางที่มีสวิตซ์เปิด-ปิด และฟิวส์ช่วยป้องกันการใช้ไฟเกิน

3. ห้ามนำปลั๊กพ่วงที่ชำรุดมาใช้งาน

4. ห้ามใช้ปลั๊กพ่วงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมาก เช่น ตู้เย็น ปั๊มน้ำ ควรเสียบกับเต้ารับโดยตรง

5. ห้ามนำรางปลั๊กพ่วงไปติดตั้งแบบถาวร หรือเดินสายไฟปลั๊กพ่วงติดกับผนังห้องฝ้าเพดาน ใต้พื้น และใต้พรม เพราะปลั๊กไฟถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานชั่วคราว

6. ปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาเสียบกับปลั๊กพ่วงต้องแน่น ไม่หลวม

7. ไม่ควรใช้ปลั๊กพ่วงต่อพ่วงกันหลายเส้น เพื่อให้สายยาวขึ้น

8. ควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ และควรถอดปลั๊กพ่วง ออกจากเต้าเสียบหลักที่ผนัง อย่าเสียบทิ้งไว้

9. ควรปิดสวิตซ์ก่อนเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ากับปลั๊กพ่วง เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ

10. ถ้ามีสิ่งผิดปกติขณะใช้งาน เช่น สายไฟร้อน มีเสียงดัง เกิดประกายไฟ ให้หยุดใช้งานทันที แล้วปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และถอดปลั๊กพ่วงที่ติดกับผนังออกเพื่อความปลอดภัย

วิธีใช้ถังดับเพลิง

1. ดึง คือดึงสลักออกจากถังดับเพลิงซึ่งจะมีกระดูกงูล็อกอยู่ ถ้าดึงไม่ออกให้ใช้การบิดเเล้วค่อยดึง สลักก็จะหลุดออกมา

2. ปลด คือการปลดสายฉีดของถังดับเพลิงออก โดยจับบริเวณปลายสายฉีดแล้วดึงออกมาจะออกง่ายกว่าจับบริเวณโคนสาย

3. กด คือการกดคันบีบของถังดับเพลิงเพื่อให้เคมีในถังออกมาใช้ดับเพลิง

4. ส่าย คือการส่ายปลายสายฉีดไป-มาเพื่อดับเพลิง ควรฉีดไปยังฐานของเพลิงหรือต้นเพลิง ไม่ควรฉีดไปบริเวณเปลวเพลิง

การตรวจเช็คและบำรุงรักษาะถังดับเพลิง

1.   ดูที่เข็มในมาตรวัด (Pressure Gauge) ของถังดับเพลิง เครื่องดับเพลิงที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ เข็มจะชี้ที่ช่องสีเขียว ( สังเกตตามรูป ) แต่ถ้าเข็มเอียงมาทางซ้ายแสดงว่าแรงดันไม่มี ต้องรีบนำไปเติมแรงดันทันที ซึ่งควรตรวจสอบ เป็นประจำทุกเดือน ตรวจ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน เป็นประจำทุกเดือน

2.   ถ้าไฟไหม้ หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ให้ส่งไปตรวจสอบและบรรจุใหม่

3.   สภาพบรรจุของถังดับเพลิงต้องไม่บุบ หรือบวม และไม่ขึ้นสนิม

4.   อายุการใช้งาน หากไม่มีการใช้งานสามารถเก็บไว้ใช้ได้มากกว่า 10 ปีสำหรับถังดับเพลิงชนิดฮาโลตรอน และอายุการใช้งานประมาณ 3 – 5 ปี ส าหรับถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง