ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ใดบ้าง
– ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm Control Panel) กับชุดแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) และ แบตเตอรี่สำรองไฟ (Battery Back-up)
– อุปกรณ์กำเนิดสัญญาณเหตุเพลิงไหม้ (Signal Initiating Devices) เช่น Smoke Detector ,Heat Detector ,Manual Station ,Projected Beam Smoke Detector ,Flame Detector ,GAS Detector and Keyswitch
– อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเหตุเพลิงไหม้ (Audible Alarm Devices) เช่น Bell ,Horn ,Strobe ,Horn & Strobe and Speaker
อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ (Other Devices) เช่น
– ตู้แสดงผลและควบคุมระบบระยะไกล (Remote Annunciator)
– ตู้แผนผังแสดงตำแหน่งเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Graphic Annunciator)
– ระบบเสียงประกาศเตือนการอพยพ EVAC (Evacuation System)
– ระบบโทรศัพท์ติดต่อแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Firefighter’s Master Telephone)
ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm Control Panel) มีกี่ประเภทจะมีอยู่ 2 ประเภทครับ คือ
– ตู้ควบคุมระบบ แบบ Hard-Wire (Conventional)
– ตู้ควบคุมระบบ แบบ Multiplex (Addressable)
ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานโดยอัตโนมัติ โดยจะรักษาความดันน้ำภายในท่อให้พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา โดยจะตั้ง ระดับความดันที่สวิทช์ความดัน (Pressure Switch) ไว้ 3 ระดับ สมมุติเช่น
– ระดับความดันที่ 1 (100 Psi.) จะทำให้ Jockey Pump ทำงาน
– ระดับความดันที่ 2 (120 Psi.) จะทำให้ Jockey Pump หยุดทำงาน (เป็นระดับความดันภายในท่อปกติ)
– ระดับความดันที่ 3 (80 Psi.) จะทำให้ Fire Pump ทำงาน
ในภาวะปกติถ้าความดันของน้ำภายในท่อลดลงต่ำกว่าที่ตั้งเอาไว้ที่สวิตช์ความดันระดับที่1 เช่น ระบบท่อมีการรั่วซึมเล็กน้อย จะทำให้เครื่องสูบน้ำ JOCKEY PUMP ทำงานจนกระทั่งภายในท่อมีความดันตามที่กำหนด (ระดับความดันที่ 2) จึงจะหยุดทำงาน
ถ้ามีการดึงสายฉีดน้ำดับเพลิงออกมาใช้งานจะทำให้เกิดความดันลดลงอย่างรวดเร็ว Jockey Pump ก็จะทำงาน แต่ทำงานแล้วยังไม่สามารถ ควบคุมความดันไว้ให้สูงกว่าระดับความดันที่ 3 ฉะนั้นเมื่อความดันน้ำในท่อลดลงมาถึงระดับความดันที่ 3 เครื่องสูบน้ำ Fire Pump ก็จะทำงานทันที
เมื่อหยุดใช้สายฉีดน้ำดับเพลิงแล้ว ความดันในท่อจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับความดันที่ 2 Jockey Pump ก็จะหยุดทำงาน แต่เครื่องสูบน้ำ Fire Pump จะไม่หยุดทำงาน จะต้องมีคนไปปิดสวิทช์หยุดการทำงานของ Fire Pump ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถ้าให้เครื่องสูบน้ำ Fire Pump หยุดทำงานอัตโนมัติ อาจเกิดปัญหาเมื่อเครื่องยนต์หยุดการทำงานเองขณะที่มีเหตุเพลิงไหม้ได้ ฉะนั้นตามมาตรฐาน NFPA 20 จึงแนะนำให้การทำงานของระบบ Fire Pump เป็นแบบเริ่มทำงานแบบอัตโนมัติและหยุดการทำงานด้วยมือ
สำหรับระบบการป้องกันของเครื่องยนต์โดยให้หยุดการทำงาน มีกรณีเดียว คือความเร็วรอบเกิน (Over Speed) เพราะจะเป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับปั๊มน้ำ หรือทำให้ความดันน้ำในท่อมากเกินไปซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ต่างๆในระบบท่อ แต่ในการติดตั้งระบบดับเพลิงก็จะมีการติดตั้ง Pressure Relife Valve ซึ่งเป็นอุปกรณ์ระบายน้ำ เมื่อมีความดันน้ำในท่อมากเกินความต้องการของระบบ
สำหรับการป้องกันเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในกรณีอื่น ได้แก่
– ระดับแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำกว่าปกติ
– อุณหภูมิของเครื่องยนต์สูงเกินปกติ ,
– ไม่มีไฟ 220 โวลท์ AC. เข้ามาจ่ายเข้าตู้ควบคุม
– แบตเตอรี่ชุดที่ 1 หรือชุดที่ 2 เสื่อม
เมื่อเกิดเหตุกรณีดังกล่าวขึ้น ก็จะมีเสียงกระดิ่งเตือน และสัญญาณไฟโชว์ที่หน้าตู้ แต่เครื่องยนต์จะไม่ดับต้องให้คนมาเป็นคนดับเครื่องเองเท่านั้น
หัวกระจายน้ำดับเพลิงแบบอัตโนมัติ (Sprinkler) และสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
อุปกรณ์ดับเพลิงด้วยน้ำแบบอัตโนมัติ (Sprinkler) หนึ่งในอุปกรณ์ของระบบดับเพลิงที่มีหลักการทำงานคือ เป็นสปริงเกอร์ดับเพลิงชนิดพิเศษ ติดตั้งไว้ตามฝ้าเพดานในอาคาร และจะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้, หัวสปริงเกอร์กระจายน้ำชนิดนี้จะออกแบบไว้เฉพาะให้มีกระเปาะแก้วบรรจุแอลกอฮอล์อุดทางท่อจ่ายน้ำไว้เพื่อไม่ให้สปริงเกอร์ทำงานในสภาพปกติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ อุณหภูมิเพดานห้องจะขึ้นสูงทำให้แอลกอฮอล์ในสปริงเกอร์ขยายตัวจนกระเปาะแก้วแตก เปิดทางให้น้ำฉีดออกมาเป็นฝอยเพื่อควบคุมไฟไม่ให้ลุกลาม
สปริงเกอร์ดับเพลิง ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้ โดยเฉพาะในอาคารสาธารณะ อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล คอนโดมิเนียมพักอาศัย อาคารสถานที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสากล หรือตามข้อกำหนดของ วสท. (สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย)
อุปกรณ์ประกอบของระบบดับเพลิงด้วยน้ำแบบอัตโนมัติ (Sprinkler)
ระบบดับเพลิงด้วยน้ำแบบอัตโนมัติ หรือสปริงเกอร์จะทำงานอย่างได้อย่างสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย นั่นคือ
- เครื่องสูบน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Fire Pump)
- วาล์วสัญญาณแจ้งเหตุ (Alarm Check Valve)
- วาล์วควบคุม (Floor Control Valve)
- ตัวจับสัญญาณการไหลของน้ำ (Water Flow Detector)